ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน
เกณฑ์ข้อที่ 4 การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
มหาวิทยาลัย ดำเนินงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย โดยครอบคลุมธรรมาภิบาล 10 ประการดังนี้
1) หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
มหาวิทยาลัยได้นำแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561 - 2565 มากำหนดทิศทาง แผนงาน การดำเนินงานพัฒนามหาวิทยาลัย และนำผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายในและภายนอก รายงานผลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาเป็นข้อพิจารณาในการกำหนดประเด็นและข้อเสนอกลยุทธ์โดยจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยบรรลุค่าเป้าหมายของแต่ละตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมหาวิทยาลัยมอบทุกหน่วยงานกำกับดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามกำหนดและรายงานผลการดำเนินงานสิ้นไตรมาสต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัยทราบ
2) หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
มหาวิทยาลัยได้ให้ทุกหน่วยงาน ปรับปรุง พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานและมีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedures) ในหน้าที่รับผิดชอบและได้นำระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) มาใช้เพื่อพัฒนาปรับปรุงงาน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการของทุกหน่วยงาน
เอกสารหลักฐานหมายเลข | รายการหลักฐานอ้างอิง |
5(5.1)4.6 | คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงาน - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - วิทยาลัยการฝึกหัดครู - สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ - กองกลาง - กองคลัง - กองบริหารงานบุคคล - กองพัฒนานักศึกษา |
5(5.1)4.7 | ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ E-document |
3) หลักการตอบสนอง (Responsiveness)
มหาวิทยาลัยได้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยมีภาระหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ในการจัดการศึกษาและบริการวิชาการให้แก่ผู้รับบริการ ซึ่งหมายถึงนักศึกษา ศิษย์เก่าและประชาชนทั่วไปที่มาขอรับบริการโดยตรง ได้ทราบข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย เอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบคำขอและสถานที่ใช้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริการ ตลอดจนเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการ ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถให้บริการและตอบสนองผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เอกสารหลักฐานหมายเลข | รายการหลักฐานอ้างอิง |
5(5.1)4.8 | คู่มือสำหรับประชาชนมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
5(5.1)4.9 | ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น |
4) หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)
4.1 มหาวิทยาลัยมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี และผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระหว่างอธิการบดี ผู้รับคำรับรอง และหัวหน้าทุกหน่วยงาน ผู้ทำคำรับรองตามแผนปฏิบัติงานประจำปี โดยมุ่งเน้นปฏิบัติราชการให้เกิดผลงานที่ดีตามเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่น
4.2 การจัดให้มีการมอบหมายงานและอำนาจหน้าที่ ให้แก่ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานในระดับต่างๆ เพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว ในการปฏิบัติตามภารกิจของทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบภายในระยะเวลาที่กำหนด
4.3 มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการรายงานผลการควบคุมภายในและแผนบริหารความเสี่ยง รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ในการดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัย
4.4 มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตโดยเน้นการสร้างความตระหนักในการรับผิดชอบต่อสังคม มีการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่เป็นคนดี มีความเป็นไทย ใฝ่ความรู้และทำงานได้ เพื่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปแล้วสามารถเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
5) หลักความโปร่งใส (Transparency)
5.1 มหาวิทยาลัยมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย มีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมายกำหนด มีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน และตรวจสอบข้อร้องเรียนที่เป็นกลาง เพื่อให้บุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก
5.2 มหาวิทยาลัยมีระบบตรวจสอบภายในที่สามารถให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารร่วมกันตรวจสอบอย่างเป็นระบบ และมีการตรวจสอบบัญชี การรับ-การจ่ายเงินทุกประเภทและรายงานสถานะการเงิน เพื่อรับการตรวจสอบภายในจากกลุ่มงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปีที่ผ่านความเห็นชอบจากอธิการบดี เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามแผนที่ตั้งไว้เป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งมีการสรุปผลการปฏิบัติงานและรายงานผลจากการตรวจสอบต่ออธิการบดีและส่งรายงานไปที่กรมบัญชีกลาง กลุ่มตรวจสอบภายในกระทรวงศึกษาธิการ ตามระยะเวลาที่กำหนด
เอกสารหลักฐานหมายเลข | รายการหลักฐานอ้างอิง |
5(5.1)4.14 | หน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร - ประชาสัมพันธ์การจัดซื้อจัดจ้าง - ประชาสัมพันธ์การรับเรื่องร้องเรียน |
5(5.1)4.15 | แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ 2565 |
6) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
สภามหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน ดังนี้
6.1 ให้หัวหน้าหน่วยงาน คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้เป็นตัวแทนหรือคณะกรรมการเพื่อให้ข้อมูลในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานชุดต่างๆ ของสภามหาวิทยาลัย
6.2 การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน โดยการนำประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะ การดำเนินงานของบุคลากร คณาจารย์ และนักศึกษา นำหารือในที่ประชุมของหน่วยงาน และนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
เอกสารหลักฐานหมายเลข | รายการหลักฐานอ้างอิง |
5(5.1)4.16 | คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสภามหาวิทยาลัย |
5(5.1)4.17 | รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
7) กระจายอำนาจ (Decentralization)
มหาวิทยาลัยได้มอบหมายงานและมอบอำนาจให้ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีในการพิจารณาสั่งการ ควบคุม ดูแล หน่วยงานที่อยู่ในกำกับ มีอำนาจในการอนุญาต อนุมัติและลงนาม เพื่อเป็นการกระจายอำนาจในการดำเนินงาน การบริหารจัดการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
7.1 คำสั่งที่ 0524/2564 เรื่อง มอบหมายงานและมอบอำนาจให้ผู้บริหาร ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี
7.2 คำสั่งที่ 0175/2565 เรื่อง มอบหมายงานและมอบอำนาจให้รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี
7.3 คำสั่งที่ 2868/2561 เรื่อง มอบอำนาจให้คณบดี ผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี
7.4 คำสั่งที่ 3286/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี
7.5 คำสั่งที่ 3120/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี
7.6 คำสั่งที่ 2313/2561 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
เอกสารหลักฐานหมายเลข | รายการหลักฐานอ้างอิง |
5(5.1)4.18 | คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เรื่อง การมอบหมายงานและมอบอำนาจให้ผู้บริหารปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี |
8) หลักนิติธรรม (Rule of Law)
มหาวิทยาลัยบริหารงานโดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศ ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด โดยมีกลไกการปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ เช่น กรณีการให้พนักงานมหาวิทยาลัยออกจากงาน เนื่องจากเจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ หรือการที่พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ผ่านการประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้างตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2554) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการประเมินการต่อสัญญาจ้าง เพื่อให้ความเป็นธรรมและมีการจ่ายเงินชดเชยกรณีที่ให้พนักงานมหาวิทยาลัยออกจากงาน และในการดำเนินงานต่าง ๆ ในด้านการบริหารและการพัฒนามหาวิทยาลัย
9) หลักความเสมอภาค (Equity)
มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อบุคลากรทุกระดับ ตลอดจนนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้ได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ ให้บุคลากรได้รับโอกาสและได้รับการส่งเสริมในการทำผลงานทางวิชาการ การขอรับทุนการศึกษาต่อ การฝึกอบรม และนำเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ การลาศึกษาต่ออย่างเท่าเทียมกัน มีการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และเปิดให้ใช้สถานที่เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ให้แก่นักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอก รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยไม่มีการแบ่งแยกด้านถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการบริการอย่างเท่าเทียมกัน
เอกสารหลักฐานหมายเลข | รายการหลักฐานอ้างอิง |
5(5.1)4.23 | เอกสารทุนการพัฒนาผลงานทางวิชาการ |
5(5.1)4.24 | คู่มือสำหรับประชาชนมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
5(5.1)4.25 | รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
10) หลักการมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)
มหาวิทยาลัยบริหารงานโดยมุ่งเน้นการใช้หลักฉันทามติในหน่วยงาน เมื่อการดำเนินงานมีปัญหาหรือต้องการเสนอความคิดเห็น จะนำเข้าสู่การประชุม เช่น การประชุมสำนักงาน การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็น และหาทางออกร่วมกัน
เอกสารหลักฐานหมายเลข | รายการหลักฐานอ้างอิง |
5(5.1)4.26 | รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี |
5(5.1)4.27 | รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |