สำนักงานอธิการบดี

ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

            ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน

           เกณฑ์ข้อที่ 4 การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

                  ผลการดำเนินงาน

              ในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยใช้หลักธรรมาภิบาล 10 ประการ มาเป็นหลักในการกำหนดกรอบในการดำเนินงานแต่ละองค์ประกอบได้มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบท วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ในแต่ละองค์ประกอบได้กำหนดกรอบการพิจารณาและเกณฑ์การพิจารณาเพื่อให้แต่ละคณะ/หน่วยงานสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

              1.  หลักประสิทธิผล (Effectiveness)

              1.1  มหาวิทยาลัยฯ มีการบริหารงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยที่กำกับดูแลให้มหาวิทยาลัยดำเนินงานตามระบบราชการที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้บรรลุตามพันธกิจ บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาล ครบถ้วนทั้ง 10 ประการ โดยได้ประกาศเจตจำนงสุจริต และหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน เพื่อให้บุคลากรทุกคนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ และมีการเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย มีกลไกการกำกับติดตามและประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบันอย่างครบถ้วน เป็นไปตามกระบวนและวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา 2566 เสนอต่อที่ประชุมผู้บริหาร และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เพื่อนำข้อเสนอแนะไปพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป

               1.2  มหาวิทยาลัยฯ มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยมีกรอบและทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนโดยมีการวิเคราะห์ศักยภาพของมหาวิทยาลัยจากปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย มีการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครให้สอดรับกับพระราโชบายและรัฐบาลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ การขับเคลื่อนการศึกษาไทย 4.0 ผนวกกับ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561) ในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการ

              1.3  มหาวิทยาลัยฯ มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานและเป็นเครื่องมือสำหรับ
ผู้บริหารในการกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานประจำปีของมหาวิทยาลัยให้สามารถบรรลุเป้าหมาย

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.1

ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย

5(5.1)4.2

ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การแสดงเจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน

5(5.1)4.3

แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2566 - 2570   

5(5.1)4.4

คำขอตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2567

5(5.1)4.5

แผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ 2567

5(5.1)4.6

รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2

 

              2.  หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)

                   2.1  สภามหาวิทยาลัยฯ มีการกำกับและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยให้มหาวิทยาลัยฯ รายงานผลการดำเนินงานต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้ข้อเสนอแนะนำไปปรับปรุงผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น กำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

                   2.2  มหาวิทยาลัยฯ ได้พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการและติดตามงานที่สามารถเชื่อมโยงระบบข้อมูลต่างๆ ขององค์กร เพื่อช่วยในการบริหารและการตัดสินใจ และสนับสนุนการปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

                         - ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัย

                         - ระบบงานบริหารสำนักงานอัตโนมัติ (e-Office)

                         - ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ

                         - ระบบสารสนเทศด้านงบประมาณ เช่น ระบบคำขอตั้งงบประมาณ  และระบบติดตามและรายงานผลโครงการ

                         - ระบบ e-Service เช่น ระบบสารสนเทศการศึกษา สำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาระบบฐานข้อมูลหลักสูตร ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF), ระบบส่งผลการเรียนออนไลน์, ระบบสมัครเรียน, ระบบสอบออนไลน์, ระบบตรวจสอบวุฒิการศึกษา, ระบบบริการสอบ ICDL, ระบบจัดการนักศึกษาฝึกงาน, ระบบบันทึกให้คำปรึกษา, ระบบ PNRU MOOCCENTER สำหรับผู้สอนเพื่อสร้าง จัดการ รายวิชา และระบบ PNRU MOOC สำหรับผู้เรียน เพื่อเปิดสู่โลการเรียนรู้ ออนไลน์ไม่จำกัดทุกที่ทุกเวลา เป็นต้น

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.7

ลิงค์ระบบสารสนเทศต่างๆ

- ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัย 

- ระบบงานบริหารสำนักงานอัตโนมัติ (e-Office)

- ระบบสารสนเทศด้านงบประมาณ ประกอบด้วย

    ระบบคำขอตั้งงบประมาณ  

    ระบบติดตามและรายงานผลโครงการ  

- ระบบ e-Service 

- ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ  

 

         3.  หลักการตอบสนอง (Responsiveness)

              มหาวิทยาลัยฯ มีการรับรู้ความคาดหวัง/ความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตอบสนองการให้บริการและการแก้ไขข้อร้องเรียน เพื่อให้ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ารับบริการได้ง่าย มีหลายช่องทาง เช่น แอพพลิเคชั่น Line, Facebook, Instagram, แจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, ส่งทางไปรษณีย์, กล่องรับเรื่องร้องเรียน และยื่นด้วยตนเองที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน เป็นต้น  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถให้บริการและตอบสนองผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในปีงบประมาณ 2567 มีการดำเนินการตอบคำถามภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจำแนกเป็นเรื่องทั่วไป จำนวน 4,717 เรื่อง และมีการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ซึ่งเข้าสู่กระบวนการจัดการข้อร้องเรียน เรียบร้อยแล้ว จำนวน 31 เรื่อง

 

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.8

ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น

5(5.1)4.9

ประกาศมหาวิทยาลัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาเรื่องร้องเรียน พ.ศ. 2566

 

         4.  หลักภาระรับผิดชอบ  (Accountability)

              4.1  ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 กำหนดให้สภามหาวิทยาลัย ต้องจัดให้มีประมวลจริยธรรมของกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา โดยสภามหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัย ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยประมวลจริยธรรม พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้ พัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรม ประมวลจริยธรรมที่ถูกต้อง

              4.2  มหาวิทยาลัยฯ มีการกำหนดจรรยาบรรณเพื่อให้บุคลากรต้องรักษาจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด โดยมุ่งประสงค์ให้บุคลากรมีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อหน่วยงาน ต่อผู้บังคับบัญชา ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ต่อผู้ร่วมงาน ต่อนักศึกศึกษาต่อผู้รับบริการ ต่อประชาชนและสังคมตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพของคณาจารย์ และสายสนับสนุน พ.ศ. 2553

               4.3  มหาวิทยาลัยฯ มีการกำหนดให้ มีระบบประเมินผลและตัวชี้วัดที่ชัดเจน โดยการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระหว่างอธิการบดี และหัวหน้าทุกหน่วยงาน มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายองค์กรสู่ระดับบุคคล และมีการติดตาม รายงานผลอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปฏิบัติราชการให้เกิดผลงานที่ดีมีคุณภาพตามเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ โดยดำเนินงานอย่างมีคุณธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้

              4.4  มหาวิทยาลัยฯ กำหนดภาระงานของผู้บริหารทุกระดับอย่างชัดเจน ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีความรับผิดชอบ โดยทุกปีการศึกษา สภามหาวิทยาลัยฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผู้บริหาร โดยเปิดโอกาสให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยกำหนดค่าน้ำหนักและวิธีการประเมินอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งระบบการประเมินดังกล่าว จะช่วยให้การประเมินผลไม่ผูกขาดการประเมินกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เกิดความยุติธรรมและโปร่งใส

             

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.10

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยประมวลจริยธรรม พ.ศ. 2565

5(5.1)4.11

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพของคณาจารย์ และสายสนับสนุน พ.ศ. 2553

5(5.1)4.12

แผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ 2567

5(5.1)4.13

รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ 2566

 

         5.  หลักความโปร่งใส  (Transparency)

              มหาวิทยาลัยฯ บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักธรรมมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาคมและสังคมภายนอกมีแนวทางการดำเนินงานและยึดถือปฏิบัติ ดังนี้

              5.1  มหาวิทยาลัยฯ มีการประชาสัมพันธ์ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา เช่น ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมายกำหนดมีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน และตรวจสอบข้อร้องเรียนที่เป็นกลาง เพื่อให้บุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก ผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีช่องทางการสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ/ติชม เพื่อให้เป็นไปตามหลักความโปร่งใส และตรวจสอบได้

              5.2  มหาวิทยาลัยฯ มีระบบตรวจสอบภายในที่สามารถให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารร่วมกันตรวจสอบอย่างเป็นระบบ  และมีการตรวจสอบบัญชี  การรับ-การจ่ายเงินทุกประเภทและรายงานสถานะการเงิน เพื่อรับการตรวจสอบภายในจากกลุ่มงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  และจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปีที่ผ่านความเห็นชอบจากอธิการบดี เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามแผนที่ตั้งไว้เป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งมีการสรุปผลการปฏิบัติงานและรายงานผลจากการตรวจสอบต่ออธิการบดีและส่งรายงานไปที่กรมบัญชีกลาง กลุ่มตรวจสอบภายในกระทรวงศึกษาธิการ ตามระยะเวลาที่กำหนด

              5.3  สภามหาวิทยาลัยฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพื่อติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ภายใต้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2549 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และรายงานผลการดำเนินงานต่อสภามหาวิทยาลัย ในทุกสิ้นปีงบประมาณ

 

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.14

ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การแสดงเจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน

5(5.1)4.15

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

5(5.1)4.16

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  - ประชาสัมพันธ์การจัดซื้อจัดจ้าง
  - ประชาสัมพันธ์การรับเรื่องร้องเรียน

5(5.1)4.17

แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ 2567

 

         6.  หลักการมีส่วนร่วม (Participation)

              มหาวิทยาลัยฯ มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน การดำเนินงาน และเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ เช่น การแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ หรือคณะทำงานฝ่ายต่างๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการเสนอวาระการประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการ

              สภามหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน ดังนี้

              6.1  ให้หัวหน้าหน่วยงาน คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้เป็นตัวแทนหรือคณะกรรมการเพื่อให้ข้อมูลในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานชุดต่างๆ ของ สภามหาวิทยาลัย

              6.2  การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน โดยการนำประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะ การดำเนินงานของบุคลากร คณาจารย์ และนักศึกษา นำหารือในที่ประชุมของหน่วยงาน และนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.18

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสภามหาวิทยาลัย

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสภาวิชาการ

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย

- ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง ผลการเลือกประธานและกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ

5(5.1)4.19

- เอกสารประกอบการประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการ

- รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

 

         7.  กระจายอำนาจ (Decentralization)

              มหาวิทยาลัยฯ มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน ทั้งในระดับโครงสร้างการบริหารงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงานระดับคณะ โครงสร้างการบริหารของหน่วยงานระดับกอง และมีการแต่งตั้งผู้บริหารในระดับต่างๆ ตามโครงสร้างการบริหาร

              อธิการบดี มีการมอบอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ ให้กับผู้บริหารในระดับต่างๆ เพื่อกระจายอำนาจ แบ่งเบาภารกิจ และลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานอย่างเต็มศักยภาพ เช่น อธิการบดีมอบอำนาจให้รองอธิการบดี อธิการบดี มอบอำนาจให้คณบดี และอธิการบดีมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงาน

 

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.20

คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  เรื่อง การมอบหมายงานและมอบอำนาจให้ผู้บริหารปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี

 

         8.  หลักนิติธรรม (Rule of Law)

              มหาวิทยาลัยฯ บริหารจัดการตามกฎหมาย ด้วยหลักความเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ ได้ศึกษากฎหมาย ซึ่งเผยแพร่กฎหมายโดยการแจ้งเวียนข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศ ให้ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยฯ และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เช่น

              - พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

              - พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2551

              - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2554

              - ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย

              - ประกาศคณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินค่าชดเชย กรณีพนักงานมหาวิทยาลัย เรื่องออกจากงาน พ.ศ. 2557

              - คู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับคณาจารย์ / บุคลากรสายสนับสนุน

 

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.21

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

5(5.1)4.22

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2551

5(5.1)4.23

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ฉบับที่ พ.ศ. 2553 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2554

5(5.1)4.24

ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย

5(5.1)4.25

ประกาศคณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินค่าชดเชย กรณีพนักงานมหาวิทยาลัย
เรื่องออกจากงาน พ.ศ. 255
6

5(5.1)4.26

คู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับคณาจารย์ / บุคลากรสายสนับสนุน

 

         9.  หลักความเสมอภาค (Equity)

              มหาวิทยาลัยฯ ให้ความสำคัญต่อบุคลากรทุกระดับ ตลอดจนนักศึกษา ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอก ให้ได้รับการปฏิบัติ การรับบริการ โดยไม่มีการแบ่งแยกด้านถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการปฏิบัติ การบริการ อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน เช่น

              -  การประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมในการทำผลงานทางวิชาการ การขอรับทุนการศึกษาต่อ การฝึกอบรม และนำเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ การลาศึกษาต่อของบุคลากร เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีประเมินตามข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัย

              -  การรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยไม่มีการแบ่งแยกความพิการ

              -  มีการจัดทำทางลาดทางเท้าสู่พื้นถนน ตามกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550

              -  มีการจัดทำห้องน้ำ การออกแบบลิฟท์ ให้บริการสำหรับผู้พิการ ตามกฎกระทรวง กำหนดสิ่งอํานวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา  พ.ศ. 2548

              -  มีการส่งเสริมให้ผู้พิการมีรายได้จากการประกอบอาชีพ โดยมหาวิทยาลัยให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าและบริการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ตามมาตรา 33 และมาตรา 35

 

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.27

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พ.ศ. 2554

5(5.1)4.28

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2556

5(5.1)4.29

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยทุนพัฒนาบุคลากร พ.ศ. 2560

5(5.1)4.30

ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบุคลากร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการการขอ และการให้ทุนพัฒนาบุคลากร

5(5.1)4.31

ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2557

5(5.1)4.32

ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรประจำ พ.ศ. 2549

5(5.1)4.33

ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ พ.ศ. 2555

5(5.1)4.34

ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2555

5(5.1)4.35

ประกาศสภามหาวิทยาลัย เรื่อง การรับคนพิการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567

5(5.1)4.36

ภาพถ่ายทางลาด ห้องน้ำ และลิฟท์ให้บริการสำหรับคนพิการ

5(5.1)4.37

รายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายจ้างงานคนพิการ ประจำปี 2566

 

         10.  หลักการมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus  Oriented)

              มหาวิทยาลัยบริหารงานโดยมุ่งเน้นการใช้หลักฉันทามติในหน่วยงาน เมื่อการดำเนินงานมีปัญหาหรือต้องการเสนอความคิดเห็น จะนำเข้าสู่การประชุม เช่น การประชุมสำนักงาน การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการอำนวยการการจัดการศึกษา เป็นต้น โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็น และหาทางออกร่วมกัน

 

เอกสารหลักฐานหมายเลข

รายการหลักฐานอ้างอิง

5(5.1)4.38

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี

5(5.1)4.39

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

5(5.1)4.40

รายงานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการจัดการศึกษา

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร